HIGHLIGHT CONTENT

เปิดฉากระทึกใน San Andreas โลกถล่มแผ่นดินทลาย ลุ้นจนตัวเกร็ง

  • 10,785
  • 29 พฤษภาคม 2015

เปิดเบื้องหลังฉากระทึกใน San Andreas
โลกถล่มแผ่นดินทลาย ลุ้นจนตัวเกร็ง 

 

 

San Andreas เป็นหนังที่นำองค์ประกอบเชิงสร้างสรรค์หลายส่วนมาประสานเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ฉาก สถานที่ถ่ายทำ และคิวบู๊ ไปจนถึงเอฟเฟ็กต์จริงและเอฟเฟ็กต์ดิจิตัล แนวทางของเพย์ตันคือการทำให้ชิ้นส่วนโมเสกแต่ละชิ้นให้ภาพที่สมจริงมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แม้ว่าจะมีการใช้ซีจีอยู่มาก นั่นหมายถึงการต้องถ่ายทำฉากแอ็คชั่นจำนวนมากผ่านกล้อง ซึ่งเกินกว่าที่คาดหวังกันในหนังสเกลนี้ ถ่ายภาพพื้นที่ภายนอกของลอสแองเจลีสและซานฟรานซิสโกเป็นจำนวนมากซึ่งจะนำไปรวมกับการถ่ายทำสถานที่ภายในและโดยรอบเขตโกลด์โคสต์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของควีนส์แลนด์ในออสเตรเลีย มีการสร้างฉากขนาดใหญ่หลายฉากในโรงถ่ายของ Village Roadshow Studios รวมถึงแท็งค์น้ำขนาดเกือบ 13,000 ตารางฟุต เป็นแท็งค์น้ำเพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียและใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยความจุถึง 1.5 ล้านแกลลอน

 

 

ในฉากตอนต้นที่แสดงถึงความสามารถ ความเป็นห่วงเป็นใย และสติที่มั่นคงของเรย์ เขาและทีมเฮลิคอปเตอร์ได้ช่วยคนขับรถซึ่งรถลื่นไถลออกจากถนนและกำลังจะตกหน้าผา ด้วยการสร้างฉากภายนอกขนาด 50x50 ฟุตที่สถานที่ถ่ายทำในออสเตรเลีย ฉากดังกล่าวได้รับการจำลองอย่างละเอียดเพื่อใช้แทนถนนในเขตทิวเขาซานตาโมนิกา ตัวแบบได้จากเหมืองหินที่อยู่ใกล้กันโดยใช้โฟมทำขึ้นมาองค์ประกอบเหล่านี้ติดอยู่กับโครงไม้ซึ่งมีฐานคอนกรีตเอาไว้ให้นักแสดงเหยียบและถุงดินเพื่อวางต้นไม้ลงไป

 

 

ตัวรถได้รับการติดตั้งโดยใช้สายเคเบิลเกือบเป็นแนวตั้งแนบไปกับหน้าผาเพื่อให้มันถูกหย่อนลงมาในระดับต่างๆ ด้วยระบบไฮดรอลิก และเฮลิคอปเตอร์จริงก็ถูกแขวนไว้โดยใช้เครนเป็นมุมเอียงเหมือนคนแตะหมวกซึ่งนักแสดงและสตันท์ต้องห้อยตัวลงมาเพื่อไปให้ถึงต่อมาในซานฟรานซิสโกมีการเล่าเหตุการณ์ตอนที่เบลคพยายามพาตัวเองออกจากรถที่ติดอยู่ใต้คานที่หล่นลงมา โรงรถในเกาะคาพรีเป็นโครงหลักให้ฉากนี้ โดยนักออกแบบงานสร้าง ชูซิด ได้นำมันมาปรับแต่งด้วยแสงไฟฉุกเฉิน เครื่องฉีดน้ำ ป้ายบอกทาง และรายละเอียดอื่นๆเขาต้องการให้เสาอาคารเผยให้เห็นโครงเหล็กและเหล็กเส้นอยู่ภายใต้คอนกรีตที่แตกหลังแผ่นดินไหวฉากที่เป็นการผสมผสานเอฟเฟ็กต์จริงเข้ากับซีจีนี้ต้องอาศัยนักขับสตันท์เพื่อเร่งความเร็วรถในระยะราว 50 ฟุตก่อนจะตกลงไปผ่านรอยแยกจำลองซึ่งหลังจากนั้นเขาจะนำรถลงไปยังพื้นชั้นล่าง รถมีหลังคายางที่สามารถรับการกระแทกได้หลายครั้ง

สำหรับเหตุร้ายที่เขื่อนฮูเวอร์ในเนวาดา ทีมงานได้สร้างฉากถนนที่ลานจอดรถของ Outback Spectacular และส่วนหนึ่งของอุโมงค์บนฐานแบบสั่นได้ในโรงถ่าย ซึ่งทีมวิชวลเอฟเฟ็กต์ได้แปรสภาพให้เป็นเหตุการณ์ขนาดใหญ่เมื่อเขื่อนแตกและถนนแยกออกจากกัน เช่นเดียวกันสะพานโกลเด้นเกตอันเป็นเอกลักษณ์ของซานฟรานซิสโกก็ได้รับการถ่ายทอดผ่านสิ่งก่อสร้างท่อนกลางขนาด 55 ฟุตพร้อมด้วยชิ้นส่วนที่แตกออกซึ่งสามารถใช้ถ่ายทำจากด้านไหนก็ได้ จากนั้นค่อยนำไปปรับด้วยดิจิตัล

 

 

สำนักงานของลอว์เรนซ์และแล็บแผ่นดินไหวของคาลเทคที่ซึ่งเขาและทีมงานควานหาข้อมูลขณะที่อาฟเตอร์ช็อคทำอันตรายต่อระบบไฟฟ้าและคุกคามความปลอดภัย ได้รับการสร้างขึ้นบนพื้นที่สนามบิน Archerfield ในบริสเบน ติดกับพื้นที่ซึ่งใช้เป็นฐานหน่วยดับเพลิงแอลเอของเรย์ “มันมีสถาปัตยกรรมยุคทศวรรษ1950 ซึ่งมีความสวยงามและมีรายละเอียดที่แบร์รีชอบมาก ทั้งเสาคอนกรีตทาสีและพื้นลิโนเลียม” จาซินตา เหลียง ผู้กำกับฝ่ายศิลป์หนึ่งในสามคนของหนังเรื่องนี้กล่าว


พอล จิอาแม็ตติ ซึ่งถ่ายทำฉากส่วนใหญ่ที่นี่ กล่าวว่า “เนื่องจากแบรดอยากให้หลายส่วนเป็นเอฟเฟ็กต์จริง เราจึงนั่งอยู่ในฉากคาลเทค โดยมีทีมงานคอยเขย่าโต๊ะ โคมไฟแกว่งไปมาและดับลง ทำให้เราเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง”
นักออกแบบเครื่องแต่งกาย เวนดี ชัค ระบุว่า เมื่อเรื่องราวจบลงอย่างยิ่งใหญ่ไม่เพียงแต่ตัวละครจะผ่านนรกอันโหดร้ายมาแล้ว แต่เสื้อผ้าของพวกเขาก็ผ่านสมรภูมิมาเช่นกัน ด้วยความที่เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นักแสดงทุกคนจึงใส่เสื้อผ้าชุดเดียว แต่ชุดที่เห็นว่าเป็นชุดเดียวนั้นมาจากชุดแบบเดียวกันหลายๆ ชุดซึ่งผ่านการใช้งานและเผชิญสภาพแวดล้อมในระดับต่างๆ กัน “เรามีทั้งเลือด ฝุ่น ความเสียหาย และการเสื่อมสภาพในทุกๆ ระดับ” เธอกล่าว “แค่ดูเสื้อผ้าคุณก็จะเห็นโครงเรื่องทั้งเรื่องได้เลย”

 

 

มหาวินาศแผ่นดินแยก

  • 28 May 2015
  • Adventure / แอ็คชัน / ชีวิต / ระทึกขวัญ /
  • 114 นาที
15+